skip to Main Content
เมนู | ค้นหา
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Filter by Categories
Clip Video
Event/Workshop
TKT
Travel
ข้อมูลจัดทริปเอง
ขายอุปกรณ์เดินป่า
ข่าวท่องเที่ยว
ทริปเดินป่า ทัวร์เดินป่า
ท่องเที่ยวชุมชน
ท่องเที่ยวไทย
ทัวร์ชิลชิล
ทัวร์ต่างประเทศ
ทัวร์ต่างประเทศแบบCollective
ทัวร์ทะเล
ทัวร์หมู่คณะ/ทีมบิลดิ้ง/สัมมนา
ทัวร์ในประเทศ
ทีมงาน/STAFF
ผจญภัย
มือใหม่ท่องโลก
มือใหม่เดินป่า
รีวิวการจองที่พัก
รีวิวจากลูกค้า
รีวิวทริปเดินป่า
รีวิวทริปเที่ยวกับชุมชน
รีวิวอุปกรณ์เดินป่า
สูตรอาหาร(ใน)ป่า
อาบป่า
เดินป่า
เทคนิคการใช้อุปกรณ์
เทคนิคเดินป่า
เทศกาล
เที่ยวต่างแดน
เที่ยวในประเทศ
โปรแกรมทัวร์
โปรโมชั่น
7เคล็ดลับวางแผนเที่ยวฉบับมนุษย์เงินเดือน

7เคล็ดลับวางแผนเที่ยวฉบับมนุษย์เงินเดือน

7เคล็ดลับวางแผนเที่ยวฉบับมนุษย์เงินเดือน

การออกเดินทางไปท่องเที่ยวแต่ละครั้งของมนุษย์เงินเดือนนั้นจะว่าลำบากก็ไม่ได้ลำบาก แต่จะว่าง่ายก็ไม่ใช่ไปซะทีเดียว เนื่องจากเวลาลาแต่ละครั้งมีผลกระทบต่องานที่ตัวเองกำลังรับผิดชอบและเพื่อนร่วมงานอย่างแน่นอน บางบริษัทเจ้านายอาจจะเขม่นอีกต่างหากถ้าจู่ๆก็ลาไปเที่ยวแบบไม่ทันตั้งตัว

ดังนั้นจะดีกว่ามั้ยถ้าเราจะบอกขั้นตอนเตรียมตัวเพื่อให้ลางานไปเที่ยวได้อย่างมีความสุข กับ7ขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนแรก ดูวันลา ช่วงเวลาที่ต้องการจะลา

แน่นอนว่าชีวิตมนุษย์เงินเดือนดูจะต่างจากฟรีแลนซ์ตรงที่มีวันลาที่จำกัด และต้องเลือกลาด้วย ในบางบริษัทและบางตำแหน่งงาน อาจถูกห้ามไม่ให้ลาในช่วงที่มีความสำคัญ เช่น ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับบัญชีและการเงิน อาจจะลาในช่วงปิดงบประมาณได้ยาก ประกอบกับว่าลาได้ต่อเนื่องกี่วัน หรือมีวันหยุดราชการตรงกับช่วงไหน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดวันลาได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นก่อนลาก็จะต้องศึกษาวันลาก่อน เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการเที่ยว เพราะลาไม่ได้ก็อดเที่ยวอยู่ดี

ขั้นตอนถัดมา เลือกสถานที่ๆต้องการไป พร้อมหาข้อมูลประกอบ
เมื่อหาวันลาได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเลือกสถานที่ๆที่ต้องการ ซึ่งขั้นตอนนี้ บางคนอาจทำสลับกับขั้นตอนแรก ก็คือการหาสถานที่ท่องเที่ยวก่อน แล้วค่อยหาวันลา สองข้อนี้สลับกันได้ แต่ที่เราพูดถึงขั้นตอนที่หนึ่งก่อนก็เพราะ จำนวนวันลาจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราเลือกสถานที่ท่องเที่ยวได้ อย่างเช่น หากมีวันหยุดรวมแล้วได้แค่3-4วัน การเลือกไปประเทศไกลๆอย่างยุโรป หรือญี่ปุ่นก็อาจเป็นไปได้ยาก เพราะแค่นั่งเครื่องบินไปกลับก็ปาเข้าไป2วันแล้ว ควรเลือกท่องเที่ยวในประเทศ หรือไปประเทศใกล้ๆเช่นมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือเวียดนามน่าจะเวิร์คกว่าเยอะ ทั้งนี้อาจหาข้อมูลที่น่าสนใจได้จากเว็บรีวิวต่างๆ (ดูตัวอย่างเว็บรีวิวท่องเที่ยวที่นี่)

ขั้นที่สาม จอง จอง จอง

ขั้นนี้เป็นขั้นตอนที่จะชี้ขาดเลยว่าคุณจะเหลือเงินพ๊อคเก็ตมันนี่สำหรับการช้อปปิ้งเท่าไหร่ เพราะถ้าเลือกสถานที่ท่องเที่ยวได้แล้ว สิ่งที่คุณต้องทำต่อมาก็คือการจองตั๋วเครื่องบิน ตั๋วรถบัส รวมถึงจองที่พักและโรงแรมต่างๆ ซึ่งสมัยนี้ดีหน่อยตรงที่มีเว็บไซต์ส่วนลดออนไลน์ที่ให้รหัสส่วนลดสำหรับการจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบินฟรีๆ อย่างเช่นเว็บดีลสำหรับท่องเที่ยวSaleduck ถ้าคุณโชคดี ก็อาจประหยัดเงินมากกว่าปกติถึง50%เลยทีเดียว ดังนั้นถ้าจะจองแล้ว อย่าลืมไปหาส่วนลดก่อน จะได้มีเงินเหลือสำหรับช้อปเยอะๆ

ขั้นที่สี่ หาซื้อสินค้าที่จำเป็นก่อนไป

เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการจองสิ่งที่จำเป็นแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะหาซื้อสิ่งของที่จำเป็นเช่นกันสำหรับการท่องเที่ยวในทริปนี้ อาทิ กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าเป้ หมอนรองคอ ผ้าปิดตา ในกรณีที่คุณยังไม่มีสิ่งของเหล่านี้ หรือหากว่าต้องเดินทางไปยังเมืองหนาว ก็ต้องเตรียมซื้อสินค้าประเภทเสื้อแจ๊คเก็ต เสื้อโค้ท ถุงมือ หรืออุปกรณ์กันหนาวอื่นๆ สำหรับขั้นตอนนี้ เราขอบอกทิปดีๆเพิ่มเติมก็คือ คุณอาจใช้เวลาช่วงหลังเลิกงานเดินดูสินค้าที่น่าสนใจ แล้วกลับมาค้นหาสินค้าบนเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งอาจทำให้คุณได้สินค้าที่ถูกกว่าการซื้อโดยตรงจากห้าง และยิ่งถ้ามีคูปองส่วนลดออนไลน์จากเว็บที่เราว่าไว้ด้านบน ก็จะช่วยให้คุณประหยัดเพิ่มเติมยิ่งขึ้นไปอีก

ขั้นที่ห้า เตรียมข้อมูล ส่งต่องาน หรือภาระความรับผิดชอบไว้แต่เนิ่นๆ

เมื่อเตรียมสิ่งที่จำเป็นสำหรับการท่องเที่ยวไว้หมดแล้ว ทีนี้ก็ต้องมาเตรียมตัวเองสำหรับการส่งต่องานให้เพื่อนร่วมงาน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่จำเป็น ถ้าหากคุณไม่อยากถูกมองจากเพื่อนร่วมงานว่าทิ้งภาระงานไว้แล้วหนีไปเที่ยว รวมทั้งไม่อยากรับโทรศัพท์หรือตอบอีเมลระหว่างเดินทาง คุณต้องแสดงความโปรเฟสชันแนล หรือความเป็นมืออาชีพ ด้วยการสะสางงานของตัวเองไม่ให้คั่งค้างเพื่อให้ตกเป็นภาระของผู้อื่นระหว่างที่เราต้องเดินทางท่องเที่ยว

หรืออธิบายงานที่เรารับผิดชอบและกำลังอยู่ในขั้นตอนพูดคุยอยู่ให้ผู้อื่นรับทราบ แต่ถ้างานคุณจำเป็นต้องติดต่อกับบุคคลภายนอกผ่านอีเมล ก็อาจตั้งอีเมลตอบรับอัตโนมัติว่าตัวเองไม่ได้อยู่ที่ออฟฟิศและทิ้งข้อมูลผู้อื่นที่บุคคลภายนอกสามารถติดต่อได้จะดูเป็นมืออาชีพเอามากทีเดียวล่ะ

ขั้นที่หก อย่าบอกว่าเราจะไปเที่ยว
ข้อนี้เหมือนจะสวนทางกับข้อที่แล้ว เพราะถ้าส่งต่องานอะไรยังไงผู้คนก็คงรู้อยู่แล้วล่ะว่าคุณจะไม่อยู่ที่ออฟฟิศ แต่ความหมายของเราก็คือพยายามให้คนรู้น้อยที่สุด ถ้าไม่จำเป็น ไม่มีใครถาม ก็ไม่ต้องบอกว่าจะไปเที่ยว เพราะนอกจากบางคนที่อาจหมั่นไส้ระคนอิจฉาเล็กๆแล้วเอาไปพูดไม่ดี คุณอาจเจอมนุษย์ของฝาก ที่ฝากซื้อแบบไม่ได้สนใจว่าเราจะไปพักผ่อนซักเท่าไหร่ และส่วนใหญ่มักกลายเป็นปัญหาในภายหลังได้ ดังนั้นทางที่ดีอย่ารับฝากซื้อหรือหิ้วองจากเพื่อน หรือดีที่สุดคือ อย่าบอกว่าเราจะไปเที่ยวเลยดีกว่า สบายใจกว่าเยอะ

ขั้นที่เจ็ด เที่ยวเสร็จแล้ว ซื้อขนมหรือของฝากเล็กๆน้อยๆมาฝากเพื่อนร่วมงาน

ข้อสุดท้ายอาจไม่เกี่ยวกับการวางแผนเที่ยวซักเท่าไหร่ แต่ถ้าคุณอยากสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้านายและเพื่อนร่วมงาน อาจกันงบประมาณเล็กๆสำหรับซื้อของฝากเล็กๆน้อยๆมาฝากเจ้านายและเพื่อนร่วมงาน โดยเฉพาะเพื่อนที่ต้องดูแลรับภาระเราในช่วงที่ตัวคุณไม่อยู่ นอกจากจะทำให้ผู้รับประทับใจแล้ว การลางานไปเที่ยวในครั้งหน้าก็อาจจะง่ายขึ้นด้วย
(อย่างไรก็ตาม ของฝากที่กล่าวถึงในข้อนี้คือสิ่งที่เราซื้อฝากด้วยน้ำใจ ไม่ใช่ของที่เค้าฝากซื้อนะครับ)

จาก7ขั้นตอนที่เรากล่าวมา ถ้ามนุษย์เงินเดือนคนไหนปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ ก็บอกได้เลยว่า คุณจะเที่ยวได้อย่างมีความสุขอย่างแน่นอน ทั้งก่อนไป ระหว่างเที่ยว และหลังกลับมา โดยไม่เจอปัญหากวนใจภายหลังอย่างแน่นอน

ทีมงานTKT

ทีมงานของเราทุกคนชอบการท่องเที่ยว เดินทาง เดินป่า เราอยากให้คนไทยออกเที่ยวธรรมชาติกันมากๆ สนุกให้เต็มที่ มีหัวใจอนุรักษ์ TrekkingThai.Com

Back To Top